หลักเกณฑ์การพิจารณา ว่าเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้างหรือไม่

Submitted by Nopthaphat on Tue, 07/07/2020 - 10:01

          คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (คณะกรรมการวินิจฉัย) ได้มีความเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์พิจารณาว่าเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้างหรือไม่ ดังนี้
          ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ข้อ 20 
          วรรคหนึ่ง กำหนดว่า “การแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างโดยลดวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งเดียวกันเพื่อให้วิธีการซื้อหรือจ้างหรืออำนาจในการสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเปลี่ยนแปลงไป จะกระทำมิได้”
           วรรคสอง กำหนดว่า “กรณีใดจะเป็นการแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างให้พิจารณาถึงวัตถุประสงค์ในการซื้อหรือจ้างครั้งนั้น และความคุ้มค่าของทางราชการเป็นสำคัญ”  
           กล่าวคือ มีการแบ่งวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ในครั้งเดียวกันออกเป็นส่วนๆ โดยไม่มีเหตุจำเป็น ทำให้
(1)วิธีการซื้อหรือจ้างเปลี่ยนแปลงไป เช่น วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ซึ่งจะต้องดำเนินการโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปแล้วไปดำเนินการโดยวิธีเฉพาะเจาะจง เป็นต้น หรือ
(2)อำนาจในการซื้อหรือจ้างเปลี่ยนแปลงไป เช่น แบ่งวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างแล้ว วิธีการซื้อหรือจ้างในแต่ละครั้งยังคงเป็นวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปอยู่ แต่อำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง ในแต่ละครั้งเปลี่ยนจากผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปขั้นหนึ่ง มาเป็นหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ เป็นต้น
            ทั้งนี้ ตาม (1) และ (2) จะต้องพิจารณาในขณะเริ่มดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างมิใช่พิจารณาผลของการดำเนินการ
(3)คำว่า “ในครั้งเดียวกัน” ตาม ระเบียบฯ ข้อ 20 วรรคหนึ่ง นั้น หมายถึง การจัดซื้อจัดจ้างที่สมควรจะจัดซื้อจัดจ้างในครั้งเดียวกัน ดังนั้น การได้รับอนุมัติจัดสรรงบประมาณในครั้งเดียวกัน หากไม่มีเหตุผลที่ทำให้หน่วยงานของรัฐไม่สามารถดำเนินการในครั้งเดียวกันได้แล้ว หากหน่วยงานของรัฐได้แยกดำเนินการจนมีผลทำให้วิธีการซื้อหรือจ้างเปลี่ยนแปลงไปตาม (1) หรือ เพื่อให้อำนาจสั่งซื้อหรือจ้างเปลี่ยนแปลงไปตาม(2) จะถือเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยระเบียบฯ
            ศึกษาตัวอย่างเพิ่มเติมได้ตามเอกสารแนบครับ