ประกวดราคา ล็อคสเปค ต้องดำเนินการอย่างไร

Submitted by sayanlawyer on Sun, 03/21/2021 - 12:45

สวัสดี ครับ 
วันนี้ ผมขอนำเสนอแนวทางการแก้ไข การเสนอราคาที่ล็อคสเปค คำว่าล็อคสเปค น่าจะเป็นคำพูดที่คุ้นเคยในการประกวดราคา และคำนี้ มีความผิดตาม พรบ.จัดซื้อจัดจ้าง ฯ  แต่ก็ ไม่เคยหายไปจากการประกวดราคา เพราะผู้ค้าแต่ละราย เชื่อว่าหากเราวิ่งได้ดีกว่าก็น่าจะเป็น คนล็อคสเปคได้ และก็ เป็นผู้ชนะการประกวดราคา ในที่สุด ซึ่งการล็อคสเปค นอกจากจะผิด พรบ.จัดซื้อจัดจ้างฯ แล้ว ยังผิด พรบ.ฮั้วอีก แต่ก็อย่างที่ผมบอกนะครับ ผู้ค้าน้อยรายจะเล่นงานกันถึง ขนาดนั้น เพราะคนค้าขายไม่ต้องการค้าความ หน้าที่ก็จะมาตกอยู่ที่ หน่วยงานของรัฐ แต่ ผมก็ไม่รู้ว่า หาก  " คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน " พบว่ามีการล็อคสเปค จริง แล้วจะส่งต่อไปให้ DSI หรือเปล่า หรือเป็นเรื่องของหน่วยงานที่จะส่งให้ DSI ในความเห็นผม หาก ให้ หน่วยงานส่ง เอง ผมว่าการล็อคสเปค ไม่มีทางหมดไปจากการประกวดราคาแน่นอน  สำหรับท่านที่ไม่ได้อยู่ วงการค้าขายกับราชการ อาจจะสงสัยว่า การล็อคสเปคไปเกี่ยวอะไรกับการฮั้ว ผมจะขอขยายความเพิ่มว่าทำไมไปเกี่ยวข้องกับการฮั้ว เพราะเมื่อมีการล็อคสเปค ก็จะต้องมีค่าดำเนินการ เมื่อมีค่าดำเนินการก็ต้องมีคนจ่าย และคนที่จ่ายก็คือคนที่่ชนะการประกวดราคา ปกติของผู้ค้า ครับ ที่จะต้องหาเงินมาจ่าย โดยการเสนอราคาให้สูงกว่าราคาปกติ ก็มีคำถามอีกว่า ในเมื่อมีเข้าเสนอราคามากกว่า 1 ราย ราคาจะสูงได้อย่างไร ตรงนี้ ผมขออธิบายว่า มันไม่มีการแข่งขันจริงครับ คือแข่งแบบหลอกๆ เพื่อให้ถูกระเบียบเท่านั้น เมื่อมีการแข่งขันราคาหลอกๆ ก็จะมาเข้าเรื่องฮั้วละครับ สรุปคือล็อคสเปคผิดกฎหมายแต่ก็ไม่มีใครปราบปรามได้จริงจัง มาเข้าเรื่อง นะครับ 
ผมขอนำเสนอตั้งแต่เริ่มโครงการ จาก ร่าง TOR เพราะบริษัท ที่จะแข่งขัน ก็จะต้องติดตาม ตั้งแต่ ร่าง TOR  เมื่อเราพบว่า TOR ล็อคสเปค เราจะต้องวิจารณ์ให้แก้ไข แนวทางปฏิบัติจะมี สองอย่างคือ หน่วยงานแก้ไขตามข้อวิจารณ์ หรือ หน่วยงานคงตามร่าง ซึ่งหากหน่วยงานแก้ไข เรื่องก็จบ แต่ถ้าไม่แก้ไข เราจะต้องมีหนังสือร้องเรียนติดไว้ และร้องเรียนไปหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากนั้น ก็จะมาประกาศ TOR บริษัท ฯ ที่ร้องเรียนจะต้องเสนอสินค้าที่ ไม่สอดคล้องกับ TOR เพราะล็อคสเปค ให้เราเข้าไม่ได้ ซึ่งเมือประกาศผล เราก็จะต้องแพ้การเสนอราคา เราก็จะอุทธรณ์ ผลการพิจารณา ไป ที่ หน่วยงานเจ้าของโครงการ และร้องเรียนไปหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผมเชื่อว่าน่าจะให้ยกเลิกการประกวดราคาแล้ว แต่ หากไม่ยกเลิก เราจะต้องฟ้องศ่าลปกครอง ให้ ยกเลิกการประกวดราคา นั้น ท่านผู้อ่านมาถึงตรงนี้ เหมือนว่าไม่มีเทคนิค อะไร ก็ทำตามขั้นตอน  แต่ผมจะบอกว่า มีเทคนิคตรงที่การเสนอราคาเพราะเราจะต้องเสนอราคาไม่สอดคล้องกับ TOR เพราะถ้าสอดคล้องแล้ว โครงการนี้ ก็ไม่ล็อคสเปค ซิ ครับ เพราะเราเสนอราคาได้ เบื้องต้นก็ น่าจะให้ บริษัท ที่พบการล็อคสเปค ได้มีแนวทางการทำงานบ้าง แล้ว ผมจึงขอจบเพียง เท่านี้ ครับ 
สายัณห์ เอี่ยมศรีปลั่ง 
กรรมการผู้จัดการ บริษัท สายัณห์ ฯ