การอุทธรณ์ กับ การร้องเรียน

Submitted by sayanlawyer on Thu, 08/08/2019 - 21:47

การอุทธรณ์ กับ การร้องเรียน สองคำนี้ต่างกัน  ซึงการอุทธรณ์ พรบ.กำหนดให้ทำได้เฉพาะผู้ยื่นซอง และต้องทำภายใน 7 วันทำการฯ แต่ การร้องเรียน ระเบียบกำหนดให้ ผู้ใด ก็ได้ ที่เห็นว่าหน่วยงานไม่ปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ กฎกระทรวง ระเบียบ ให้ ร้องเรียนภายใน 15 วัน นับแต่ได้รู้ หรือควรรู้ ครับ ดังนั้นควรจะตั้งเรื่องให้ถูก มิเช่นนั้นจะเสียเวลา 

การอุทธรณ์ ตาม พรบ.จัดซื้อจัดจ้าง

Submitted by sayanlawyer on Tue, 08/06/2019 - 22:52

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ฯ ได้ ออกหนังสือซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการอุทธรณ์ ตาม พรบ.จัดซื้อจัดจ้าง ฯ บริษัท ฯ ขอสรุป ดังนี้ 
1.ผู้ที่จะอุทธรณ์ได้จะต้องเป็นผู้ยื่นข้อเสนอ ( มาตรา 114 ) 
2.ต้องอุทธรณ์ภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่ประกาศในระบบเครือข่ายของกรมบัญชีกลาง  และอุทธรณ์ต่อ หน่วยงานของรัฐ 

เอกสารแนบ

คณะกรรมการวินิจฉัย พิจารณาตอบข้อหารือเฉพาะหน่วยงานของรัฐเท่านั้น

Submitted by sayanlawyer on Sun, 06/30/2019 - 14:17

บริษัท ฯ มีหนังสือขอหารือ คณะกรรมการวินิจฉัย ฯ เกี่ยวกับหน้าที่การจัดทำแบบกรณีที่มีการแก้ไข เพราะส่วนราชการส่วนมากจะให้ ผู้รับจ้างดำเนินการ แต่ บริษัทฯ เห็นว่าเป็นหน้าที่ของผู้ว่าจ้างและเพื่อให้ เป็นบรรทัดฐานต่อไป จึงได้หารือไปที่ คณะกรรมการวินิจฉัย ฯ แต่ ปรากฎว่า กรมบัญชีกลางมีหนังสือแจ้ง ว่า จะตอบข้อหารือเฉพาะหน่วยงานของรัฐเท่าน้น บริษัท ฯ จึงนำมาฝาก 

ข้อควรระวังเกี่ยวกับสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง

Submitted by sayanlawyer on Wed, 06/26/2019 - 20:50

บริษัท ที่รับจ้างหรือขายสินค้าให้ราชการ คงมีไม่น้อยที่ ทำสัญญาโอนสิทธิการรับเงินให้กับ  ธนาคาร และท่านอาจจะไม่ทราบว่ายังมีหน่วยงานบางแห่งเข้าใจว่าสิทธิในการเรียกคืนค่าปรับ และเงินเพิ่มตามสัญญา ฯ หลังจากปิดโครงการแล้ว นั้นตกไปเป็นของธนาคาร เนื่องจากมีการโอนสิทธิเรียกร้องแล้ว  ซึ่งที่ถูกต้องแล้ว สัญญาโอนสิทธิ นั้น เป็นเพียงโอนสิทธิการรับเงินให้ ธนาคารเท่านั้น  สำหรับสิทธิหน้าที่ของ บริษัท ที่จะเรียกร้องค่าปรับคืน หรือเรียกร้องเงินเพิ่ม คงเป็นของบริษัท อยู่ทั้งสิ้น แต่เพื่อมิให้มีประเด็นนี้   ผม ขอเสนอทีมกฎหมายของ บริษัท ได้แก้ไขข้อความให้รัดกุม ถึงสิทธิและหน้าที่ให้ชัดเจนในสัญญาโอนสิทธิ นั้น

e-bidding - คณะกรรมการต้องยึดถือราคาตามใบเสนอราคา เป็นหลักมากกว่า BOQ

Submitted by sayanlawyer on Mon, 05/20/2019 - 10:36

งานก่อสร้างที่ ผู้เสนอราคา ทำใบเสนอราคาในระบบ e-bidding ไม่ตรงกับ BOQ  คณะกรรมการต้องยึดถือ ใบเสนอราคาเป็นหลัก และจะปรับให้เป็นผู้ไม่ผ่านการพิจารณา ก็ไม่ได้ ด้วยเช่นกัน 

บริษัท ถูกสั่งเป็นผู้ทิ้งงาน ต้องดำเนินการอย่างไร

Submitted by sayanlawyer on Wed, 11/01/2017 - 16:39

เมื่อ บริษัทและกรรมการที่เกี่ยวข้อง ถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน สิ่งที่จะต้องทำลำดับแรก คือ ต้องอุทธรณ์คำสั่ง ที่ สั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน  แต่ ไม่สามารถฟ้องศาลปกครองให้ เพิกถอนคำสั่งที่สั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานได้ทันที ( อ.627/2560)  และหลังจากที่ คำสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานถูกยืนตามเดิม หรือพ้นระยะเวลา พิจารณาคำอุทธรณ์ บริษัท และกรรมการ ก็ดำเนินการฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนคำสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน  พร้อมกับ ขอทุเลาคำสั่งที่ให้เป็นผู้ทิ้งงาน  ก่อนจบ ผมขอย้ำว่า บริษัท และกรรมการจะต้องอุทธรณ์คำสั่งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มิฉะนั้นก็หมดสิทธิที่จะไปฟ้องศาลปกครอง ให้ชนะคดีได้ 
ขอบคุณครับ

ของดค่าปรับภายหลังครบกำหนดสัญญา เนื่องจากเหตุสุดวิสัย

Submitted by sayanlawyer on Mon, 10/23/2017 - 13:31

คำวินิจฉัย 45/2554
เหตุสุดวิสัยในการของดหรือลดค่าปรับ ฯ กรณีเหตุเกิดขึ้นภายหลังครบกำหนดสัญญาแล้ว ก็ สามารถของดหรือลดค่าปรับได้ เพราะระเบียบมิได้กำหนดต้องเป็นเหตุเกิดขึ้นก่อนหมดสัญญา เมื่อผู้รับจ้างแจ้งเหตุขัดข้องภายใน 15 วัน นับแต่เหตุสิ้นสุด ตามเงื่อนไข ในสัญญา ย่อมมีอำนาจพิจารณางดหรือลดค่าปรับได้ ตามจำนวนวันที่เกิดเหตุฯ

หนังสือยินยอมชำระค่าปรับโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น ก็ของดหรือลดค่าปรับได้

Submitted by sayanlawyer on Mon, 10/23/2017 - 13:29

คำวินิจฉัยที่ ห 113/2554
เมื่อมีเหตุที่จะลดหรืองดค่าปรับแล้ว การที่ผู้ขายมีหนังสือยินยอมชำระค่าปรับโดยไม่มีเงื่อนไข ใดๆ ทั้งสิ้น ก็ มิใช่การสละสิทธิเรียกร้องขอลดหรืองดค่าปรับ แต่เป็นเพียงเหตุที่ส่วนราชการจะสามารถผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญา ส่วนราชการจจึงสามารถงดหรือลดค่าปรับได้