ศาลอาจจะปรับเกิน 10% ก็ได้

Submitted by sayanlawyer on Tue, 01/26/2021 - 14:55

จากที่ หลายๆ ท่านได้ยินว่า ศาลท่านจะลดค่าปรับให้ไม่เกิน 10%  เรื่อง นี้ ไม่ใช้กับทุกคดี เพราะจาก ที่ บริษัท ได้รับมอบหมายให้ ฟ้องเรียกคืนค่าปรับ จาก กรมที่ดิน ปรากฎว่า ศาลปกครองกลางท่านยกฟ้อง แต่มาได้คืน ศาลปกครองสูงสุด 14 ล้านกว่า ๆ ครับ 
ดำ อ.725/2557 แดง อ.1036/2563

การจัดจ้างที่ไม่มีเทคนิคพิเศษ ต้องจัดจ้างใช้เกณฑ์ราคา ตัดสิน หากผิดจากนี้ อาจถูกยกเลิกได้

Submitted by sayanlawyer on Tue, 01/05/2021 - 13:05

สวัสดี ครับ 
เรื่องนี้ เป็นเรื่องแรกของปี 2564 และเป็นเรื่องที่สำคัญ บริษัท จึงมามาฝาก 
เรื่องมีอยู่ว่า หน่วยงานหนึ่ง จัดจ้างด้วยการใช้คะแนนเทคนิคเข้ามาเกี่ยวข้องกับราคา ทำให้ ผู้ที่มีราคาต่ำสุดไม่ชนะการประกวดราคา ผู้แพ้การประกวดราคา อุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาให้ยกเลิกการประกวดราคา เพราะเป็นการจ้างที่ไม่มีเทคนิคพิเศษอะไร ต้องใช้ราคาเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน 

ตัวอย่างหนังสือค้ำประกัน

Submitted by Nopthaphat on Tue, 07/07/2020 - 10:13

               คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (คณะกรรมการนโยบาย) พิจารณาแล้วเห็นว่า 

หลักเกณฑ์การพิจารณา ว่าเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้างหรือไม่

Submitted by Nopthaphat on Tue, 07/07/2020 - 10:01

          คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (คณะกรรมการวินิจฉัย) ได้มีความเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์พิจารณาว่าเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้างหรือไม่ ดังนี้
          ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ข้อ 20 
          วรรคหนึ่ง กำหนดว่า “การแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างโดยลดวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งเดียวกันเพื่อให้วิธีการซื้อหรือจ้างหรืออำนาจในการสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเปลี่ยนแปลงไป จะกระทำมิได้”

แนวทางปฏิบัติหลังบอกเลิกสัญญา

Submitted by sayanlawyer on Sun, 04/12/2020 - 12:50

คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาฯ ได้มีแนวทางปฏิบัติในกรณีที่ ส่วนราชการบอกเลิกสัญญาตาม file แนบ 
**งานที่่ส่งและเบิกเงินแล้ว จะไม่นำมารวมเป็นค่าเสียหาย 
**  งานที่ส่งแต่ยังไม่ได้รับเงิน  ส่วนราชการจะกำหนดราคากลาง และหากทำแล้ว เงินเหลือจะต้องคืนผู้รับจ้าง หากไม่พอ จะต้องเรียกจากผู้รับจ้าง

การอุทธรณ์ กับ การร้องเรียน

Submitted by sayanlawyer on Thu, 08/08/2019 - 21:47

การอุทธรณ์ กับ การร้องเรียน สองคำนี้ต่างกัน  ซึงการอุทธรณ์ พรบ.กำหนดให้ทำได้เฉพาะผู้ยื่นซอง และต้องทำภายใน 7 วันทำการฯ แต่ การร้องเรียน ระเบียบกำหนดให้ ผู้ใด ก็ได้ ที่เห็นว่าหน่วยงานไม่ปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ กฎกระทรวง ระเบียบ ให้ ร้องเรียนภายใน 15 วัน นับแต่ได้รู้ หรือควรรู้ ครับ ดังนั้นควรจะตั้งเรื่องให้ถูก มิเช่นนั้นจะเสียเวลา 

การอุทธรณ์ ตาม พรบ.จัดซื้อจัดจ้าง

Submitted by sayanlawyer on Tue, 08/06/2019 - 22:52

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ฯ ได้ ออกหนังสือซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการอุทธรณ์ ตาม พรบ.จัดซื้อจัดจ้าง ฯ บริษัท ฯ ขอสรุป ดังนี้ 
1.ผู้ที่จะอุทธรณ์ได้จะต้องเป็นผู้ยื่นข้อเสนอ ( มาตรา 114 ) 
2.ต้องอุทธรณ์ภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่ประกาศในระบบเครือข่ายของกรมบัญชีกลาง  และอุทธรณ์ต่อ หน่วยงานของรัฐ 

เอกสารแนบ

คณะกรรมการวินิจฉัย พิจารณาตอบข้อหารือเฉพาะหน่วยงานของรัฐเท่านั้น

Submitted by sayanlawyer on Sun, 06/30/2019 - 14:17

บริษัท ฯ มีหนังสือขอหารือ คณะกรรมการวินิจฉัย ฯ เกี่ยวกับหน้าที่การจัดทำแบบกรณีที่มีการแก้ไข เพราะส่วนราชการส่วนมากจะให้ ผู้รับจ้างดำเนินการ แต่ บริษัทฯ เห็นว่าเป็นหน้าที่ของผู้ว่าจ้างและเพื่อให้ เป็นบรรทัดฐานต่อไป จึงได้หารือไปที่ คณะกรรมการวินิจฉัย ฯ แต่ ปรากฎว่า กรมบัญชีกลางมีหนังสือแจ้ง ว่า จะตอบข้อหารือเฉพาะหน่วยงานของรัฐเท่าน้น บริษัท ฯ จึงนำมาฝาก 

ข้อควรระวังเกี่ยวกับสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง

Submitted by sayanlawyer on Wed, 06/26/2019 - 20:50

บริษัท ที่รับจ้างหรือขายสินค้าให้ราชการ คงมีไม่น้อยที่ ทำสัญญาโอนสิทธิการรับเงินให้กับ  ธนาคาร และท่านอาจจะไม่ทราบว่ายังมีหน่วยงานบางแห่งเข้าใจว่าสิทธิในการเรียกคืนค่าปรับ และเงินเพิ่มตามสัญญา ฯ หลังจากปิดโครงการแล้ว นั้นตกไปเป็นของธนาคาร เนื่องจากมีการโอนสิทธิเรียกร้องแล้ว  ซึ่งที่ถูกต้องแล้ว สัญญาโอนสิทธิ นั้น เป็นเพียงโอนสิทธิการรับเงินให้ ธนาคารเท่านั้น  สำหรับสิทธิหน้าที่ของ บริษัท ที่จะเรียกร้องค่าปรับคืน หรือเรียกร้องเงินเพิ่ม คงเป็นของบริษัท อยู่ทั้งสิ้น แต่เพื่อมิให้มีประเด็นนี้   ผม ขอเสนอทีมกฎหมายของ บริษัท ได้แก้ไขข้อความให้รัดกุม ถึงสิทธิและหน้าที่ให้ชัดเจนในสัญญาโอนสิทธิ นั้น